วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์



ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/02139/02139.html
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้น ๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงานในที่นี้จะบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้

1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้

– จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
– สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
– มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
– มีเวลาเพียงพอ
– มีงบประมาณเพียงพอ
– มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม

3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ
จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข

4. การลงมือทำโครงงาน
เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต

5. การเขียนรายงาน
เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ

6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน
เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=sTf-f6WOz_4

ที่มา:http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/02139/02139.html

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์


ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

cr.http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html


1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น



2.โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.โครงงานพัฒนาเกม โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความ เพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ

4.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้ โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดว

5. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น


Cr.https://namkwanmay.wordpress.com/2011/02/ปรเภทของโครงงานคอมพิว/











โครงงานคอมพิวเตอร์






โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข


ความสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 
1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ 
2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา 
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต 
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม


ขอบข่ายของโครงงาน
1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

โครงงาน
คอมพิวเตอร&#...
Cr.http://www.slideshare.net/viszenpae/mindmap-23973619

Cr.
1.  http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-           Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html
2. https://krudarin.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1/



วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทความ การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล

การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล


        เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์แบบหนึ่งของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (internal combustion engines) ซึ่งเป็นเครื่องต้นกำลังที่เปลี่ยนพลังงานเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานความร้อน โดยการเผาไหม้ และพลังงานความร้อนก็จะเปลี่ยนเป็นงาน เครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะมีการจุดระเบิด ส่วนผสมระหว่างอากาศและเชื้อเพลิงเองซึ่งเรียกว่า compression ignitionโดยเชื้อเพลิงจะถูกอัดฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ที่มีอากาศถูกอัดไว้และจะเกิดการลุกไหม้ขึ้น ผลของการเผาไหม้ จะทำให้ก๊าชที่เกิดขึ้นมีความดันและอุณหภูมิสูงก็จะขยายตัวดันลูกสูบลงมา ซึ่งจะไปผลักให้ข้อเหวี่ยงหมุนไป หลักการทำงานหรือวงจรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลสามารถแบ่งออกเป็น 2 วงจรการทำงานคือ

1.  วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (four stroke cycle)
วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ จะมีวงจรการทำงาน 1 วงจรประกอบด้วย จังหวะ (stroke) 4 จังหวะ จังหวะการทำงาน 1 จังหวะ ก็คือการเคลื่อนที่ของลูกสูบจากตำแหน่งบนสุด (top dead center) จนถึงตำแหน่งล่างสุด (bottom dead center) หรือจากตำแหน่งล่างสุด จนถึงตำแหน่งบนสุด ซึ่ง 2 จังหวะการทำงานจะเท่ากับ 1 รอบการหมุนของข้อเหวี่ยงหรือของ เครื่องยนต์ วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะเป็นไปตามรูป 

1.1    อากาศจะถูกดูดเข้าทางท่อไอดี ผ่านลิ้นไอดี โดยลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงจากตำแหน่งบนสุดจนถึงล่างสุด จังหวะนี้เราเรียกว่าจังหวะดูด (intake stroke)
1.2    อากาศจะถูกอัดโดยลูกสูบ ซึ่งจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งล่างสุดจนถึงตำแหน่งบนสุด ในระหว่างนี้ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียจะเปิด จังหวะนี้เราเรียกว่าจังหวะอัด (compression stroke) ในจังหวะนี้เมื่ออากาศถูกอัดจนลูกสูบเกือบจะถึงตำแหน่งบนสุด เชื้อเพลิงก็จะถูกฉีดผ่านหัวฉีด เข้าสู่ห้องเผาไหม้ แล้วก็จะเกิดการลุกไหม้ระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศ
1.3    เมื่อเกิดการเผาไหม้ ก๊าซภายในห้องเผาไหม้ซึ่งจะมีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น ก็จะดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากตำแหน่งบนสุดจนถึงตำแหน่งล่างสุด จังหวะนี้เราเรึยกว่าจังหวะขยายตัวหรือจังหวะกำลัง (expansion or power stroke)
1.4    เมื่อก๊าชที่เกิดจากการเผาไหม้ขยายตัวดันลูกสูบจนถึงตำแหน่งล่างสุดแล้ว ลูกสูบ ก็จะเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นพร้อมกับลิ้นไอเสียเปิด แล้วลูกสูบก็จะดันเอาไอเสียหรือก๊าชที่เกิดจากการเผาไหม้ออกไปโดยผ่านทางลิ้นไอเสียจังหวะนี้เราเรียกว่า(exhaust stroke)

2. วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (two stroke cycle)
เครื่องยนต์ 2 จังหวะหมายถึงเครึ๋องยนต์ที่มีการทำงาน 1 วงจร ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของลูกสูบ 2 จังหวะ หรือ 1 รอบหมุนของเครื่องยนต์ ซึ่งจะเป็นตามรูป

2.1    อากาศจะเป่าเข้ากระบอกสูบโดยพัดลมผ่านช่องไอดี (intake port) ซึ่งเจาะเป็นช่องไว้โดยรอบกระบอกสูบ ในขณะเดียวกันไอเสียก็จะถูกไล่ออกทางลิ้นหรือช่องไอเสียและที่ตำแหน่งนี้ ลูกสูบจะอยู่ในตำแหน่งล่างสุด
2.2    ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ไอดียังคงถูกเป่าเข้าและไอเสียยังคงถูกไล่ออกอยู่ จนกระทั่ง ลูกสูบเลื่อนไปปิดช่องไอดีและลิ้นไอเสียปิด ลูกสูบก็จะอัดอากาศจนลูกสูบเคลื่อนที่เกือบถึงตำแหน่งบนสุด เชื้อเพลิงก็จะถูกฉีดผ่านหัวฉีด เริ่มเกิดการเผาไหม้
2.3    ก๊าชที่เกิดจากการเผาไหม้ที่มีความดันและอุณหภูมิสูง ก็จะดันลูกสูบเคลึ่อนที่ลงไป หลักข้อเหวี่ยงให้หมุนไป จนกระทั่งลูกสูบเลื่อนลงไปเปิดช่องไอดี และลิ้นไอเสียเปิดก็จะเริ่มการเอาอากาศเข้า และเริ่มการไล่ไอเสียอีกครั้งหนึ่ง


ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ดีเซล

1.     ตัวเครื่องยนต์
ตัวเครื่องยนต์เป็นส่วนที่เหมือนกันของเครึ่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ผลิดจากโรงงานผลิตใด ตัวเครื่องยนต์จะเป็นกลไกที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เป็นงาน  ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญคือ
1.1   ฝาสูบ (cylinder head) คือ ส่วนที่ปิดด้านบน (สำหรับเครื่องยนต์สูบเรียงและสูบวี) หรือด้านนอกสุด (สำหรับเครื่องยนต์แบบสูบนอน) เพื่อทำให้เกิดห้องเผาไหม้ (combustion chamber) ซึ่งเป็นห้องที่เกิดจากส่วนล่างของฝาสูบ ส่วนบนของกระบอกสูบ และส่วนบนขอ ลูกสูบ ฝาสูบจะถูกขันติดกับเสื้อสูบ โดยใช้หมุดเกลียวและใช้ปะเก็นฝาสูบวางอยู่ระหว่างเสื้อสูบ และฝาสูบเพื่อกันมิให้ก๊าชรั่วจากห้องเผาไหม้ และกันมิให้น้ำรั่วเช้าห้องเผาไหม้ในกรณีที่เป็น เครื่องยนต์หล่อเย็นด้วยนํ้า
1.2   เสื้อสูบ (cylinder block) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับและหุ้มห่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ โดยชิ้นส่วนต่าง ๆของเครื่องยนต์ที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่อยู่ภายในเสื้อสูบนี้
1.3   ลิ้นและกลไกของลิ้น (valve and valve mechanism) ลิ้นและกลไกของลิ้นทำหน้าที่ ปิดและเปิดช่องไอดีและไอเสียที่จะเข้าและออกจากกระบอกสูบ ให้เข้าและออกตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
1.4   กระบอกสูบ (cylinder) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง และส่วนบนจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของห้องเผาไหม้ด้วย
1.5   ลูกสูบและแหวน (piston and piston rings) ลูกสูบทำหน้าที่รับแรงที่เกิดจากการเผาไหม้ และถ่ายทอดแรงไปยังข้อเหวี่ยงโดยผ่านก้านสูบ รวมทั้งมีร่องสำหรับใส่แหวนลูกสูบอีกด้วย ส่วนแหวนลูกสูบทำหน้าที่เป็นซีล (seal) กันก๊าซรั่วระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบ ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนจากลูกสูบไปยังกระบอกสูบ และทำหน้าที่ควบคุมการหล่อลื่นระหว่างลูกสูบและผนังของกระบอกสูบ
1.6   ก้านสูบ (connecting rod) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างลูกสูบและข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลังขับดันจากลูกสูบไปยังข้อเหวี่ยง
1.7   ข้อเหวี่ยง (crankshaft) เป็นชิ้นส่วนหนึ่งซึ่งเมื่อต่อเชื่อมกับลูกสูบโดยใช้ก้านสูบแล้ว จะเปลี่ยนการเคลื่อนที่ขึ้นลงของลูกสูบให้เป็นการหมุน
1.8   เมนแบริ่งและแบริ่งก้านสูบ (main and connecting rod bearing) เป็นส่วนที่ใช้รองรับเพลาข้อเหวี่ยงและก้านสูบ
1.19 ฟลายวีล (flywheel) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานเพื่อทำให้รอบหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงสมํ่าเสมอ และทำหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลัง
1.10 ชุดขับเคลื่อนเพื่อกำหนดเวลา (timing drives) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดเวลา การทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน เช่น ให้ลิ้นไอดีและไอเสียปิดเปิดตามตำแหน่ง ของลูกสูบที่ต้องการ

2.     ระบบนํ้ามันเชื้อเพลิง
เป็นระบบหนึ่งที่จำเป็นสำหรับเครื่องยนต์ โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับนํ้ามันเชื้อเพลิงทั้งหมด ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ
2.1   ถังนํ้ามัน (fuel tank) ใช้เก็บนํ้ามันและรับนํ้ามันที่ไหลกลับจากหัวฉีด
2.2   ปั๊มส่งนํ้ามันเชื้อเพลิง (fuel transfer pump) บางครั้งเรียกปั๊มแรงดันตํ่า ใช้ในการปั๊มนํ้ามันจากถังผ่านหม้อกรองนํ้ามันเชื้อเพลิงไปยังปั๊มฉีดนํ้ามันเชื้อเพลิง
2.3   หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิง (fuel filters) ใช้ในการกรองฝุ่นผงที่ปนอยู่กับนํ้ามัน ก่อนที่จะส่งนํ้ามันไปยังปั๊มหัวฉีด
2.4   ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (injection pump) บางครั้งเรียกปั๊มแรงดันสูง ใช้ในการปั๊มนํ้ามันด้วยความดันสูงไปยังหัวฉีด ด้วยปริมาณและตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
2.5   หัวฉีด (injection nozzles) ใช้ในการทำให้นํ้ามันเป็นละอองและฉีดเข้าห้องเผาไหม้
หน้าที่ของระบบนํ้ามันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล จะทำหน้าที่ 5 ประการ คือ
1.จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ด้วยปริมาณที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และให้งานออกมาตามที่ต้องการ
2.จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ตามกำหนดเวลาเพื่อให้ได้กำลังสูงสุดซึ่งในการฉีดนํ้ามันเข้าก่อนหรือหลังเวลาที่เหมาะสมจะทำให้เครื่องยนต์สูญเสียกำลังที่ควรจะได้ไป
3.จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ด้วยอัตราที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเผาไหม้อย่างราบรื่นตามสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์
4. จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้เป็นละอองฝอย เพื่อให้สามารถระเหยและผสมกับอากาคอย่างรวดเร็ว
5. จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้อย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถผสมกับออกซิเจนให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เดินอย่างราบเรียบและให้กำลังออกมาสูงสุด

3.     ระบบไอดีและไอเสีย
สำหรับระบบไอดีทำหน้าที่นำเอาอากาศที่สะอาดเข้ากระบอกสูบตามปริมาตรที่ต้องการส่วนระบบไอเสียทำหน้าที่นำไอเสียออกจากกระบอกสูบและลดเสียงที่จะเกิดจากไอเสียด้วย
ระบบไอดีของเครื่องยนต์ดีเซลทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วย
1. เครื่องกรองอากาศ (air cleaner) จะทำหน้าที่กรองฝุ่นผงและสิ่งสกปรกในอากาศ ก่อนที่จะเข้ากระบอกสูบ สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ที่ใช้ในที่มีฝุ่นมาก นิยมใช้เครื่องกรองอากาศขั้นแรก (pre cleaner) ซึ่งจะทำหน้าที่กรองฝุ่นผงและสิ่งสกปรกขนาดใหญ่ในอากาศก่อนที่จะให้อากาศผ่านเข้าไปในเครื่องกรองอากาศ ทำให้อายุการใช้งานของเครื่องกรองอากาศยืนยาวขึ้น
2.  ท่อไอดี (intake manifold) จะทำหน้าที่นำอากาศที่ผ่านจากเครื่องกรองแล้วเข้าสู่กระบอกสูบ ในกรณีที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลแบบหลายสูบก็จะมีท่อแยกเข้าแต่ละสูบ
3. ลิ้นไอดีหรือช่องไอดี (intake valves or intake ports) ลิ้นไอดีหรือช่องไอดีกับลูกสูบจะทำหน้าที่เปิดให้อากาศจากท่อไอดี เข้าสู่กระบอกสูบตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
นอกจากอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ระบบไอดีของเครื่องยนต์ดีเซลอาจจะประกอบด้วย ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (supercharger) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์โดยการ อัดอากาศเข้าเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้ปริมาณของอากาศที่เข้าเครื่องยนต์สามารถเข้าได้มากกว่า ที่จะดูดเข้าเอง เป็นผลให้ด้วยขนาดความจุของกระบอกสูบของเครื่องยนต์เท่ากัน เครื่องยนต์ที่ติดซูเปอร์ชาร์จเจอร์จะให้กำลังมากกว่าเครื่องยนต์ที่มิได้ติดซูเปอร์ชาร์จเจอร์
ส่วนระบบไอเสียจะประกอบด้วย
1.  ลิ้นไอเสีย (exhaust valves) ทำหน้าที่เปิดให้ไอเสียออกจากกระบอกสูบตามกำหนดเวลา
2.  ท่อไอเสีย (exhaust manifold) จะรับไอเสียที่ออกจากกระบอกสูบ ถ้าเป็นเครื่องยนต์แบบหลายสูบก็จะมีท่อไปรับทุกสูบแล้วนำมารวมกัน
3.  หม้อพัก (muffer) ทำหน้าที่ลดเสียงที่เกิดจากการไหลของไอเสียออกจากเครื่องยนต์ นอกจากนี้แล้วระบบไอเสียอาจจะประกอบด้วยส่วนของเทอร์โบชาร์จเจอร์(turbocharger)คือส่วนที่เรียกว่าเทอร์ไบน์ (turbine) โดยไอเสียจะไหลผ่านเข้าไปขับใบพัดเพื่อไปหมุนเพลา ขับเครื่องอ้ดอากาศ (compressor) ด้านระบบไอดี

4 . ระบบหล่อลื่น
เป็นอีกระบบหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อเครื่องยนต์ดีเซล โดยจะทำหน้าที่ 5 ประการคือ
1.      ลดความฝืดระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว
2.      ระบายและถ่ายเทความร้อน
3.      กันมิให้ก๊าชรั่วออกจากช่องระหว่างแหวนลูกสูบและผนังกระบอกสูบ
4.      ทำความสะอาดโดยการชะล้างชิ้นส่วนต่าง ๆ
5.      ช่วยลดเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ
   สำหรับเครึ่องยนต์ดีเซลที่ใช้กับเครื่องจักรกลงานก่อสร้าง โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วแบบหลายสูบ ซึ่งใช้ระบบหล่อลื่นแบบใช้แรงดันอย่างเดียว (full internal force feed system) โดยนํ้ามันหล่อลื่นจะถูกส่งไปชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ภายใต้แรงดัน ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ คือ
4.1   ปั๊มน้ำมันหล่อลื่น (oil pump) ทำหน้าที่ดันนํ้ามันหล่อลื่นให้ไหลไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ที่ต้องการการหล่อลื่น
4.2   หม้อกรองน้ำมันหล‘อลื่น (oil filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปนอยู่ในนํ้ามันหล่อลื่นออก
4.3   ลิ้นควบคุม (lubricating valves) ทำหน้าที่ควบคุมความดันของนํ้ามันหล่อลื่นในระบบไม่ให้เกินความดันที่กำหนด
นอกจากอุปกรณ์ที่สำคัญ 3 อย่างข้างต้นแล้ว ระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่อาจจะมีอุปกรณ์เพิ่มเติมคือ เครื่องหล่อเย็นน้ำมันหล่อลื่น (oil cooler) เพื่อใช้ในการระบายความร้อนออกจากนํ้ามันหล่อลื่น

5.   ระบบหล่อเย็น
ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลจะทำหน้าที่ 2 ประการคือ
1.   เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจนเกินไป โดยทั่วไปชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ดีเซลจะถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้อุณหภูมิสูงสุดอุณหภูมิหนึ่ง หากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ร้อนจนเกินไปก็จะทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์บางชิ้นหลอมละลาย และทำให้เครื่องยนต์ชำรุด ระบบหล่อเย็นจะทำหน้าที่นำเอาความร้อนส่วนที่เกินออกไปจากเครื่องยนต์
2.   เพื่อควบคุมอุณหภูมิของตัวเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากเครื่องยนต์ร้อน เกินไป ชิ้นส่วนบางชิ้นอาจหลอมละลายได้ และหากเครื่องยนต์เย็นเกินไปคืออุณหภูมิของตัว เครื่องยนต์ต่ำเกินไปก็จะเป็นผลเสียต่อเครื่องยนต์เช่นกัน คือ จะเกิดการสึกหรอมากเนื่องจากระบบหล่อลื่นทำงานได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้การสิ้นเปลืองนํ้ามันเชื้อเพลิงก็จะสูงขึ้นด้วย
ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
5.1   ระบบหล่อเย็นด้วยอากาศ ซึ่งจะให้อากาศไหลผ่านเครื่องยนต์ โดยความร้อนจากเครื่องยนต์จะถ่ายเทให้กับอากาศที่ไหลผ่านโดยตรง
5.2    ระบบหล่อเย็นด้วยของเหลว ซึ่งจะให้ของเหลว (โดยทั่วไปจะใช้น้ำ ไหลผ่านช่องต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นในตัวเครื่องยนต์ เพื่อให้ความร้อนจากเครื่องยนต์ถ่ายเทให้กับนํ้า แล้วนํ้าที่ร้อนก็จะไหลผ่านหม้อนํ้าซึ่งความร้อนจากนํ้าจะถูกถ่ายเทให้อากาศอีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นนํ้าก็จะไหลกลับเข้าเครื่องยนต์อีก
ในระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวหรือนํ้า ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ คือ
ก. หม้อน้ำ (radiator) ซึ่งจะเป็นตัวถ่ายเทความร้อนจากน้ำไปสู่อากาศโดยรอบและจะเป็นถังเก็บนํ้าเพื่อให้นํ้ามีปริมาณเพียงพอที่จะใช้ในการหมุนเวียน
ข.พัดลม (fan) ซึ่งจะทำหน้าที่บังคับให้อากาศไหลผ่านหม้อนํ้าด้วยปริมาณที่เพียงพอ
ค. ปั๊มน้ำ (water pump) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้น้ำไหลหมุนเวียนด้วยปริมาณที่เพียงพอ
ง. เทอร์โมสตัต (thermostat) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของนํ้าที่ไหลผ่านเครื่องยนต์ ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม

6. ระบบและลอุปกรณ์อื่นๆ
              นอกจากระบบที่สำคัญๆตามที่กล่าวมาแล้วเครื่องยนต์ดีเซลยังอาจประกอบด้วยระบบควบคุมความเร็ว (governing system) ทำหน้าที่รักษาความเร็วของเครื่องยนต์ให้คงที่หรือควบคุมความเร็วเดินเบาและความเร็วสูงสุด ระบบการหมุนติดเครื่องด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า(starting motor system) ทำหน้าที่หมุนเครื่องยนต์ให้เครื่องยนต์ติด และระบบการประจุไฟฟ้า (electricalcharging system) ทำหน้าที่ในการประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่และจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ



วิดิโอ หลักการำงานของเครื่องยนต์



การจัดเรียงกระบอกสูบเครื่องยนต์แบบต่างๆ

              โดยทั่วไปแล้ว เครื่องยนต์สันดาปภายในนั้นหลักๆ มีอยู่ 2 ประเภทคือเครื่องยนต์เบนซิน หรือ Petrol Engine กับขุมพลังดีเซล ซึ่งในแต่ละประเภทนั้นจะถูกแยกย่อยออกไปอีกโดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบเบนซินที่เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่าเครื่องยนต์หน้าตาอย่างนี้คือแบบไหนและมีการทำงานอย่างไร

1.เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กที่สุดซึ่งมีกระบอกสูบเพียงกระบอกสูบเดียว หรือที่เรียกว่า Single Cylinder Engine ลักษณะของมันคือจะมีกระบอกสูบเดียวต่อเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยง เป็นเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็ก ที่มักออกแบบมาให้ใช้กันทั่วไปในรถจักรยานยนต์นั่นเอง


2.คือเครื่องยนต์แบบที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลางนั่นคือเครื่องยนต์แบบกระบอกสูบเรียง หรือ In-Line engine จะมีจำนวนสูบมากกว่า 2 สูบขึ้นไปแต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นแบบ 4 สูบแต่ไม่เกิน 6 สูบ เพราะมันจะมีความยาวเกินไปเปลืองเนื้อที่ไม่เหมาะกับรถยนต์ที่มีขนาดห้องเครื่องไม่ใหญ่มาก สังเกตุง่ายๆเครื่องยนต์แบบนี้ลักษณะการวางอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือวางขวางอยู่ในห้องเครื่องและเป็นเครื่องยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือกว่า 70% บนท้องถนน และแบบที่ 2 คือแบบวางเครื่องยนต์ตามยาวขนานไปกับตัวรถซึ่งมักจะอยู่ในรถทางฝั่งยุโรป เช่นใน BMW Series 3 เป็นต้น


3.คือเครื่องยนต์แบบกระบอกสูบวี หรือ V-Engine เครื่องแบบนี้จะมีกระบอกสูบและลูกสูบอยู่หลายชุดที่แบ่งออกเป็น 2 แถวทำมุมตั้งแต่ 15 – 120 องศารูปตัววีซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดความยาวของเครื่องยนต์ลง แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ 60 และ 90 องศาบนเพลาข้อเหวี่ยงเพียงเส้นเดียวซึ่งเหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีความจุตั้งแต่ 2,000 ซีซีขึ้นไป เพราะถ้าความจุต่ำกว่ากว่านี้จะไม่คุ้มทุนเพราะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงกว่า เครื่องยนต์แบบนี้จะนิยมวางเครื่องยนต์ตามยาว มีตั้งแต่ 2 สูบไปจนถึง 20 สูบ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือแบบ V6, V8, V10 และ V12 อย่างเช่นเครื่องยนต์ในตระกกูล VQ ใน Nissan Teana รวมถึงพวกซีดานขนาดกลางอย่าง BMW ซีรี่ห์ 5 , ซีรี่ห์ 7 และ Mercedes-Benz E-Class เครื่องยนต์แบบนี้สังเกตุง่าย มักวางตามยาวอยู่ใต้ฝากระโปรง


4.เป็นแบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องยนต์แบบ V ที่ซ้อนกันอยู่ในเครื่องยนค์กระบอกสูบดับบลิว หรือ W-Engine กระบอกสูบจะถูกจัดวางคล้ายกับแบบ V แต่จะแบ่งออกเป็น 3-4 แถวอยู่บนเพลาข้อเหวี่ยง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเครื่องยนต์ W12 และ W16 ซึ่งขุมพลังแบบนี้จะช่วยลดความยาวของเครื่องยนต์ลงได้มากกว่ากระบอกสูบแบบ V เครื่องยนต์ในรูปแบบนี้มักถูกออกแบบมาให้ใช้กับรถแข่งเพราะให้กำลังที่สูงหรือไม่ก็อยู่ในตัวแรงพวกรถสปอร์ตซุปเปอร์คาร์และสปอร์ต Luxury Car เช่น Audi A8 Quattro W12 และรถที่แรงที่สุดในโลกอย่าง Bugatti Veyron


5.คือเครื่องยนต์กระบอกตรงข้าม หรือ Opposed Cylinder engine หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “สูบนอน” หรือเครื่อง “Boxer” เครื่องยนต์ชนิดนี้จะมีกระบอกสูบและลูกสูบหลายชุด โดยกระบอกสูบจะแบ่งออกเป็น 2 แถวตรงข้ามกันบนเพลาข้อเหวี่ยงเส้นเดียวกัน ลองนึกภาพเครื่องยนต์แบบ V แต่กระบอกสูบและสูบทำมุมเป็นเส้นตรงที่ 180 องศา ขุมพลังแบบนี้จะมีตั้งแต่ 2 ไปถึง 8 สูบ เครื่อง Boxer มีจุดเด่นคือสามารถลดความสูงของตัวเครื่องได้มากช่วยลดอาการโคลงและสามารถออกแบบตัวถังให้ลู่ลมได้มากกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์ทั่วๆไป ซึ่งขุมพลังแบบกระบอกสูบตรงข้ามนี้ปัจจุบันมีใช้อยู่ในรถสปอร์ตอย่าง Porsche และตัวแรงอย่าง Subaru สังเกตตุง่ายคือเครื่องยนต์จะวางต่ำจากขอบตัวถังด้านบนมากกว่าแบบอื่น และอีกอย่างนึงคือหัวพวกปลั็กหัวเทียนจะอยู่เฉียงลงไปทั้ง 2 ข้างไม่วางเรียงกันด้านบนเหมือนทั่วๆไป


6.เครื่องยนต์โรตารี่ หรือ เครื่องยนต์แวนเคิล หรือจะใช้ศัพท์ช่างที่เรียกกันว่า “สูบหมุน” ที่คิดค้นขึ้นโดย Mr.Felix Wankel ภายใต้แนวความคิดที่ไม่ต้องใช้ชิ้นส่วนมากในการผลิตเครื่งยนต์ แต่ใช้ Rotor สามเหลี่ยมด้านเส้นขอบโค้งและมีแอ่งกลางแทนลูกสูบ ขณะที่กระบอกสูบเปลี่ยนรูปไปตามการหมุนของโรเตอร์ทั้งที่หมุนรอบตัวเองไปพร้อมกับการหมุนเยื้องศูนย์ ที่กำหนดโดยเพลาเยื้องศูนย์ที่มีความโค้งเว้าเป็นรูปวงรีผิวหน้าเรียบเข้ารูปแนบสนิทกับชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่แทนแหวนลูกสูบหรือ “เอดป็กซีล” ที่ติดตั้งอยู่ตรงปลายโรเตอร์ทั้ง 3 มุม
สำหรับขุมพลังประเภทนี้อาจดูแล้วเข้าใจยากสักหน่อย ซึ่งไม่ต้องคิดมากเพราะเครื่องยนต์แบบนี้ไม่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในรถทั่วไปที่เห็นในบ้านเราก็มีเพียงรถสปอร์ตค่าย Mazda ตระกูล RX เท่านั้นที่ใช้ จุดเด่นของมันอยู่ที่คือใช้ชิ้นส่วนน้อยและได้กำลังมากกว่าเครื่องทั่วไปถึง 3 เท่าในการทำงาน 1 กลวัตร








วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


My  First  Blogger



ชื่อ  นาย  อนุชา  แสงสุวรรณ
ชื่อเล่น เอี๊ยม อายุ 17 ปี
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัด เชียงใหม่
สิ่งที่ชอบ  สุนัข แมว ชอบกิน ชอบเล่นดนตรี
งานอดิเรก ดูหนัง อ่านหนังสือ เล่นดนตรี



My Friend

Cradit by Frankenstine



My Favorite Pet




Life Style

Credit : https://www.youtube.com/watch?v=8SbUC-UaAxE  

"November Rain"


When I look into your eyes
I can see a love restrained
But darlin' when I hold you
Don't you know I feel the same

'Cause nothin' lasts forever
And we both know hearts can change
And it's hard to hold a candle
In the cold November rain

We've been through this such a long long time
Just tryin' to kill the pain

But lovers always come and lovers always go
And no one's really sure who's lettin' go today
Walking away

If we could take the time
To lay it on the line
I could rest my head
Just knowin' that you were mine
All mine
So if you want to love me
Then darlin' don't refrain
Or I'll just end up walkin'
In the cold November rain

Do you need some time...on your own
Do you need some time...all alone
Everybody needs some time... on their own
Don't you know you need some time...all alone

I know it's hard to keep an open heart
When even friends seem out to harm you
But if you could heal a broken heart
Wouldn't time be out to charm you

Sometimes I need some time...on my own
Sometimes I need some time...all alone
Everybody needs some time... on their own
Don't you know you need some time...all alone

And when your fears subside
And shadows still remain
I know that you can love me
When there's no one left to blame
So never mind the darkness
We still can find a way
'Cause nothin' lasts forever
Even cold November rain

Don't ya think that you need somebody
Don't ya think that you need someone
Everybody needs somebody
You're not the only one
You're not the only one