วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทความ การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล

การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล


        เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์แบบหนึ่งของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (internal combustion engines) ซึ่งเป็นเครื่องต้นกำลังที่เปลี่ยนพลังงานเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานความร้อน โดยการเผาไหม้ และพลังงานความร้อนก็จะเปลี่ยนเป็นงาน เครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะมีการจุดระเบิด ส่วนผสมระหว่างอากาศและเชื้อเพลิงเองซึ่งเรียกว่า compression ignitionโดยเชื้อเพลิงจะถูกอัดฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ที่มีอากาศถูกอัดไว้และจะเกิดการลุกไหม้ขึ้น ผลของการเผาไหม้ จะทำให้ก๊าชที่เกิดขึ้นมีความดันและอุณหภูมิสูงก็จะขยายตัวดันลูกสูบลงมา ซึ่งจะไปผลักให้ข้อเหวี่ยงหมุนไป หลักการทำงานหรือวงจรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลสามารถแบ่งออกเป็น 2 วงจรการทำงานคือ

1.  วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (four stroke cycle)
วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ จะมีวงจรการทำงาน 1 วงจรประกอบด้วย จังหวะ (stroke) 4 จังหวะ จังหวะการทำงาน 1 จังหวะ ก็คือการเคลื่อนที่ของลูกสูบจากตำแหน่งบนสุด (top dead center) จนถึงตำแหน่งล่างสุด (bottom dead center) หรือจากตำแหน่งล่างสุด จนถึงตำแหน่งบนสุด ซึ่ง 2 จังหวะการทำงานจะเท่ากับ 1 รอบการหมุนของข้อเหวี่ยงหรือของ เครื่องยนต์ วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะเป็นไปตามรูป 

1.1    อากาศจะถูกดูดเข้าทางท่อไอดี ผ่านลิ้นไอดี โดยลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงจากตำแหน่งบนสุดจนถึงล่างสุด จังหวะนี้เราเรียกว่าจังหวะดูด (intake stroke)
1.2    อากาศจะถูกอัดโดยลูกสูบ ซึ่งจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งล่างสุดจนถึงตำแหน่งบนสุด ในระหว่างนี้ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียจะเปิด จังหวะนี้เราเรียกว่าจังหวะอัด (compression stroke) ในจังหวะนี้เมื่ออากาศถูกอัดจนลูกสูบเกือบจะถึงตำแหน่งบนสุด เชื้อเพลิงก็จะถูกฉีดผ่านหัวฉีด เข้าสู่ห้องเผาไหม้ แล้วก็จะเกิดการลุกไหม้ระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศ
1.3    เมื่อเกิดการเผาไหม้ ก๊าซภายในห้องเผาไหม้ซึ่งจะมีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น ก็จะดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากตำแหน่งบนสุดจนถึงตำแหน่งล่างสุด จังหวะนี้เราเรึยกว่าจังหวะขยายตัวหรือจังหวะกำลัง (expansion or power stroke)
1.4    เมื่อก๊าชที่เกิดจากการเผาไหม้ขยายตัวดันลูกสูบจนถึงตำแหน่งล่างสุดแล้ว ลูกสูบ ก็จะเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นพร้อมกับลิ้นไอเสียเปิด แล้วลูกสูบก็จะดันเอาไอเสียหรือก๊าชที่เกิดจากการเผาไหม้ออกไปโดยผ่านทางลิ้นไอเสียจังหวะนี้เราเรียกว่า(exhaust stroke)

2. วงจรการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (two stroke cycle)
เครื่องยนต์ 2 จังหวะหมายถึงเครึ๋องยนต์ที่มีการทำงาน 1 วงจร ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของลูกสูบ 2 จังหวะ หรือ 1 รอบหมุนของเครื่องยนต์ ซึ่งจะเป็นตามรูป

2.1    อากาศจะเป่าเข้ากระบอกสูบโดยพัดลมผ่านช่องไอดี (intake port) ซึ่งเจาะเป็นช่องไว้โดยรอบกระบอกสูบ ในขณะเดียวกันไอเสียก็จะถูกไล่ออกทางลิ้นหรือช่องไอเสียและที่ตำแหน่งนี้ ลูกสูบจะอยู่ในตำแหน่งล่างสุด
2.2    ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ไอดียังคงถูกเป่าเข้าและไอเสียยังคงถูกไล่ออกอยู่ จนกระทั่ง ลูกสูบเลื่อนไปปิดช่องไอดีและลิ้นไอเสียปิด ลูกสูบก็จะอัดอากาศจนลูกสูบเคลื่อนที่เกือบถึงตำแหน่งบนสุด เชื้อเพลิงก็จะถูกฉีดผ่านหัวฉีด เริ่มเกิดการเผาไหม้
2.3    ก๊าชที่เกิดจากการเผาไหม้ที่มีความดันและอุณหภูมิสูง ก็จะดันลูกสูบเคลึ่อนที่ลงไป หลักข้อเหวี่ยงให้หมุนไป จนกระทั่งลูกสูบเลื่อนลงไปเปิดช่องไอดี และลิ้นไอเสียเปิดก็จะเริ่มการเอาอากาศเข้า และเริ่มการไล่ไอเสียอีกครั้งหนึ่ง


ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ดีเซล

1.     ตัวเครื่องยนต์
ตัวเครื่องยนต์เป็นส่วนที่เหมือนกันของเครึ่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ผลิดจากโรงงานผลิตใด ตัวเครื่องยนต์จะเป็นกลไกที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เป็นงาน  ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญคือ
1.1   ฝาสูบ (cylinder head) คือ ส่วนที่ปิดด้านบน (สำหรับเครื่องยนต์สูบเรียงและสูบวี) หรือด้านนอกสุด (สำหรับเครื่องยนต์แบบสูบนอน) เพื่อทำให้เกิดห้องเผาไหม้ (combustion chamber) ซึ่งเป็นห้องที่เกิดจากส่วนล่างของฝาสูบ ส่วนบนของกระบอกสูบ และส่วนบนขอ ลูกสูบ ฝาสูบจะถูกขันติดกับเสื้อสูบ โดยใช้หมุดเกลียวและใช้ปะเก็นฝาสูบวางอยู่ระหว่างเสื้อสูบ และฝาสูบเพื่อกันมิให้ก๊าชรั่วจากห้องเผาไหม้ และกันมิให้น้ำรั่วเช้าห้องเผาไหม้ในกรณีที่เป็น เครื่องยนต์หล่อเย็นด้วยนํ้า
1.2   เสื้อสูบ (cylinder block) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับและหุ้มห่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ โดยชิ้นส่วนต่าง ๆของเครื่องยนต์ที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่อยู่ภายในเสื้อสูบนี้
1.3   ลิ้นและกลไกของลิ้น (valve and valve mechanism) ลิ้นและกลไกของลิ้นทำหน้าที่ ปิดและเปิดช่องไอดีและไอเสียที่จะเข้าและออกจากกระบอกสูบ ให้เข้าและออกตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
1.4   กระบอกสูบ (cylinder) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง และส่วนบนจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของห้องเผาไหม้ด้วย
1.5   ลูกสูบและแหวน (piston and piston rings) ลูกสูบทำหน้าที่รับแรงที่เกิดจากการเผาไหม้ และถ่ายทอดแรงไปยังข้อเหวี่ยงโดยผ่านก้านสูบ รวมทั้งมีร่องสำหรับใส่แหวนลูกสูบอีกด้วย ส่วนแหวนลูกสูบทำหน้าที่เป็นซีล (seal) กันก๊าซรั่วระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบ ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนจากลูกสูบไปยังกระบอกสูบ และทำหน้าที่ควบคุมการหล่อลื่นระหว่างลูกสูบและผนังของกระบอกสูบ
1.6   ก้านสูบ (connecting rod) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างลูกสูบและข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลังขับดันจากลูกสูบไปยังข้อเหวี่ยง
1.7   ข้อเหวี่ยง (crankshaft) เป็นชิ้นส่วนหนึ่งซึ่งเมื่อต่อเชื่อมกับลูกสูบโดยใช้ก้านสูบแล้ว จะเปลี่ยนการเคลื่อนที่ขึ้นลงของลูกสูบให้เป็นการหมุน
1.8   เมนแบริ่งและแบริ่งก้านสูบ (main and connecting rod bearing) เป็นส่วนที่ใช้รองรับเพลาข้อเหวี่ยงและก้านสูบ
1.19 ฟลายวีล (flywheel) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานเพื่อทำให้รอบหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงสมํ่าเสมอ และทำหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลัง
1.10 ชุดขับเคลื่อนเพื่อกำหนดเวลา (timing drives) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดเวลา การทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน เช่น ให้ลิ้นไอดีและไอเสียปิดเปิดตามตำแหน่ง ของลูกสูบที่ต้องการ

2.     ระบบนํ้ามันเชื้อเพลิง
เป็นระบบหนึ่งที่จำเป็นสำหรับเครื่องยนต์ โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับนํ้ามันเชื้อเพลิงทั้งหมด ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ
2.1   ถังนํ้ามัน (fuel tank) ใช้เก็บนํ้ามันและรับนํ้ามันที่ไหลกลับจากหัวฉีด
2.2   ปั๊มส่งนํ้ามันเชื้อเพลิง (fuel transfer pump) บางครั้งเรียกปั๊มแรงดันตํ่า ใช้ในการปั๊มนํ้ามันจากถังผ่านหม้อกรองนํ้ามันเชื้อเพลิงไปยังปั๊มฉีดนํ้ามันเชื้อเพลิง
2.3   หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิง (fuel filters) ใช้ในการกรองฝุ่นผงที่ปนอยู่กับนํ้ามัน ก่อนที่จะส่งนํ้ามันไปยังปั๊มหัวฉีด
2.4   ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (injection pump) บางครั้งเรียกปั๊มแรงดันสูง ใช้ในการปั๊มนํ้ามันด้วยความดันสูงไปยังหัวฉีด ด้วยปริมาณและตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
2.5   หัวฉีด (injection nozzles) ใช้ในการทำให้นํ้ามันเป็นละอองและฉีดเข้าห้องเผาไหม้
หน้าที่ของระบบนํ้ามันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล จะทำหน้าที่ 5 ประการ คือ
1.จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ด้วยปริมาณที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และให้งานออกมาตามที่ต้องการ
2.จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ตามกำหนดเวลาเพื่อให้ได้กำลังสูงสุดซึ่งในการฉีดนํ้ามันเข้าก่อนหรือหลังเวลาที่เหมาะสมจะทำให้เครื่องยนต์สูญเสียกำลังที่ควรจะได้ไป
3.จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ด้วยอัตราที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเผาไหม้อย่างราบรื่นตามสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์
4. จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้เป็นละอองฝอย เพื่อให้สามารถระเหยและผสมกับอากาคอย่างรวดเร็ว
5. จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้อย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถผสมกับออกซิเจนให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เดินอย่างราบเรียบและให้กำลังออกมาสูงสุด

3.     ระบบไอดีและไอเสีย
สำหรับระบบไอดีทำหน้าที่นำเอาอากาศที่สะอาดเข้ากระบอกสูบตามปริมาตรที่ต้องการส่วนระบบไอเสียทำหน้าที่นำไอเสียออกจากกระบอกสูบและลดเสียงที่จะเกิดจากไอเสียด้วย
ระบบไอดีของเครื่องยนต์ดีเซลทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วย
1. เครื่องกรองอากาศ (air cleaner) จะทำหน้าที่กรองฝุ่นผงและสิ่งสกปรกในอากาศ ก่อนที่จะเข้ากระบอกสูบ สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ที่ใช้ในที่มีฝุ่นมาก นิยมใช้เครื่องกรองอากาศขั้นแรก (pre cleaner) ซึ่งจะทำหน้าที่กรองฝุ่นผงและสิ่งสกปรกขนาดใหญ่ในอากาศก่อนที่จะให้อากาศผ่านเข้าไปในเครื่องกรองอากาศ ทำให้อายุการใช้งานของเครื่องกรองอากาศยืนยาวขึ้น
2.  ท่อไอดี (intake manifold) จะทำหน้าที่นำอากาศที่ผ่านจากเครื่องกรองแล้วเข้าสู่กระบอกสูบ ในกรณีที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลแบบหลายสูบก็จะมีท่อแยกเข้าแต่ละสูบ
3. ลิ้นไอดีหรือช่องไอดี (intake valves or intake ports) ลิ้นไอดีหรือช่องไอดีกับลูกสูบจะทำหน้าที่เปิดให้อากาศจากท่อไอดี เข้าสู่กระบอกสูบตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
นอกจากอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ระบบไอดีของเครื่องยนต์ดีเซลอาจจะประกอบด้วย ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (supercharger) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์โดยการ อัดอากาศเข้าเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้ปริมาณของอากาศที่เข้าเครื่องยนต์สามารถเข้าได้มากกว่า ที่จะดูดเข้าเอง เป็นผลให้ด้วยขนาดความจุของกระบอกสูบของเครื่องยนต์เท่ากัน เครื่องยนต์ที่ติดซูเปอร์ชาร์จเจอร์จะให้กำลังมากกว่าเครื่องยนต์ที่มิได้ติดซูเปอร์ชาร์จเจอร์
ส่วนระบบไอเสียจะประกอบด้วย
1.  ลิ้นไอเสีย (exhaust valves) ทำหน้าที่เปิดให้ไอเสียออกจากกระบอกสูบตามกำหนดเวลา
2.  ท่อไอเสีย (exhaust manifold) จะรับไอเสียที่ออกจากกระบอกสูบ ถ้าเป็นเครื่องยนต์แบบหลายสูบก็จะมีท่อไปรับทุกสูบแล้วนำมารวมกัน
3.  หม้อพัก (muffer) ทำหน้าที่ลดเสียงที่เกิดจากการไหลของไอเสียออกจากเครื่องยนต์ นอกจากนี้แล้วระบบไอเสียอาจจะประกอบด้วยส่วนของเทอร์โบชาร์จเจอร์(turbocharger)คือส่วนที่เรียกว่าเทอร์ไบน์ (turbine) โดยไอเสียจะไหลผ่านเข้าไปขับใบพัดเพื่อไปหมุนเพลา ขับเครื่องอ้ดอากาศ (compressor) ด้านระบบไอดี

4 . ระบบหล่อลื่น
เป็นอีกระบบหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อเครื่องยนต์ดีเซล โดยจะทำหน้าที่ 5 ประการคือ
1.      ลดความฝืดระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว
2.      ระบายและถ่ายเทความร้อน
3.      กันมิให้ก๊าชรั่วออกจากช่องระหว่างแหวนลูกสูบและผนังกระบอกสูบ
4.      ทำความสะอาดโดยการชะล้างชิ้นส่วนต่าง ๆ
5.      ช่วยลดเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ
   สำหรับเครึ่องยนต์ดีเซลที่ใช้กับเครื่องจักรกลงานก่อสร้าง โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วแบบหลายสูบ ซึ่งใช้ระบบหล่อลื่นแบบใช้แรงดันอย่างเดียว (full internal force feed system) โดยนํ้ามันหล่อลื่นจะถูกส่งไปชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ภายใต้แรงดัน ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ คือ
4.1   ปั๊มน้ำมันหล่อลื่น (oil pump) ทำหน้าที่ดันนํ้ามันหล่อลื่นให้ไหลไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ที่ต้องการการหล่อลื่น
4.2   หม้อกรองน้ำมันหล‘อลื่น (oil filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปนอยู่ในนํ้ามันหล่อลื่นออก
4.3   ลิ้นควบคุม (lubricating valves) ทำหน้าที่ควบคุมความดันของนํ้ามันหล่อลื่นในระบบไม่ให้เกินความดันที่กำหนด
นอกจากอุปกรณ์ที่สำคัญ 3 อย่างข้างต้นแล้ว ระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่อาจจะมีอุปกรณ์เพิ่มเติมคือ เครื่องหล่อเย็นน้ำมันหล่อลื่น (oil cooler) เพื่อใช้ในการระบายความร้อนออกจากนํ้ามันหล่อลื่น

5.   ระบบหล่อเย็น
ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลจะทำหน้าที่ 2 ประการคือ
1.   เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจนเกินไป โดยทั่วไปชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ดีเซลจะถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้อุณหภูมิสูงสุดอุณหภูมิหนึ่ง หากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ร้อนจนเกินไปก็จะทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์บางชิ้นหลอมละลาย และทำให้เครื่องยนต์ชำรุด ระบบหล่อเย็นจะทำหน้าที่นำเอาความร้อนส่วนที่เกินออกไปจากเครื่องยนต์
2.   เพื่อควบคุมอุณหภูมิของตัวเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากเครื่องยนต์ร้อน เกินไป ชิ้นส่วนบางชิ้นอาจหลอมละลายได้ และหากเครื่องยนต์เย็นเกินไปคืออุณหภูมิของตัว เครื่องยนต์ต่ำเกินไปก็จะเป็นผลเสียต่อเครื่องยนต์เช่นกัน คือ จะเกิดการสึกหรอมากเนื่องจากระบบหล่อลื่นทำงานได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้การสิ้นเปลืองนํ้ามันเชื้อเพลิงก็จะสูงขึ้นด้วย
ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
5.1   ระบบหล่อเย็นด้วยอากาศ ซึ่งจะให้อากาศไหลผ่านเครื่องยนต์ โดยความร้อนจากเครื่องยนต์จะถ่ายเทให้กับอากาศที่ไหลผ่านโดยตรง
5.2    ระบบหล่อเย็นด้วยของเหลว ซึ่งจะให้ของเหลว (โดยทั่วไปจะใช้น้ำ ไหลผ่านช่องต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นในตัวเครื่องยนต์ เพื่อให้ความร้อนจากเครื่องยนต์ถ่ายเทให้กับนํ้า แล้วนํ้าที่ร้อนก็จะไหลผ่านหม้อนํ้าซึ่งความร้อนจากนํ้าจะถูกถ่ายเทให้อากาศอีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นนํ้าก็จะไหลกลับเข้าเครื่องยนต์อีก
ในระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวหรือนํ้า ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ คือ
ก. หม้อน้ำ (radiator) ซึ่งจะเป็นตัวถ่ายเทความร้อนจากน้ำไปสู่อากาศโดยรอบและจะเป็นถังเก็บนํ้าเพื่อให้นํ้ามีปริมาณเพียงพอที่จะใช้ในการหมุนเวียน
ข.พัดลม (fan) ซึ่งจะทำหน้าที่บังคับให้อากาศไหลผ่านหม้อนํ้าด้วยปริมาณที่เพียงพอ
ค. ปั๊มน้ำ (water pump) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้น้ำไหลหมุนเวียนด้วยปริมาณที่เพียงพอ
ง. เทอร์โมสตัต (thermostat) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของนํ้าที่ไหลผ่านเครื่องยนต์ ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม

6. ระบบและลอุปกรณ์อื่นๆ
              นอกจากระบบที่สำคัญๆตามที่กล่าวมาแล้วเครื่องยนต์ดีเซลยังอาจประกอบด้วยระบบควบคุมความเร็ว (governing system) ทำหน้าที่รักษาความเร็วของเครื่องยนต์ให้คงที่หรือควบคุมความเร็วเดินเบาและความเร็วสูงสุด ระบบการหมุนติดเครื่องด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า(starting motor system) ทำหน้าที่หมุนเครื่องยนต์ให้เครื่องยนต์ติด และระบบการประจุไฟฟ้า (electricalcharging system) ทำหน้าที่ในการประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่และจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ



วิดิโอ หลักการำงานของเครื่องยนต์



การจัดเรียงกระบอกสูบเครื่องยนต์แบบต่างๆ

              โดยทั่วไปแล้ว เครื่องยนต์สันดาปภายในนั้นหลักๆ มีอยู่ 2 ประเภทคือเครื่องยนต์เบนซิน หรือ Petrol Engine กับขุมพลังดีเซล ซึ่งในแต่ละประเภทนั้นจะถูกแยกย่อยออกไปอีกโดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบเบนซินที่เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่าเครื่องยนต์หน้าตาอย่างนี้คือแบบไหนและมีการทำงานอย่างไร

1.เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กที่สุดซึ่งมีกระบอกสูบเพียงกระบอกสูบเดียว หรือที่เรียกว่า Single Cylinder Engine ลักษณะของมันคือจะมีกระบอกสูบเดียวต่อเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยง เป็นเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็ก ที่มักออกแบบมาให้ใช้กันทั่วไปในรถจักรยานยนต์นั่นเอง


2.คือเครื่องยนต์แบบที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลางนั่นคือเครื่องยนต์แบบกระบอกสูบเรียง หรือ In-Line engine จะมีจำนวนสูบมากกว่า 2 สูบขึ้นไปแต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นแบบ 4 สูบแต่ไม่เกิน 6 สูบ เพราะมันจะมีความยาวเกินไปเปลืองเนื้อที่ไม่เหมาะกับรถยนต์ที่มีขนาดห้องเครื่องไม่ใหญ่มาก สังเกตุง่ายๆเครื่องยนต์แบบนี้ลักษณะการวางอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือวางขวางอยู่ในห้องเครื่องและเป็นเครื่องยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือกว่า 70% บนท้องถนน และแบบที่ 2 คือแบบวางเครื่องยนต์ตามยาวขนานไปกับตัวรถซึ่งมักจะอยู่ในรถทางฝั่งยุโรป เช่นใน BMW Series 3 เป็นต้น


3.คือเครื่องยนต์แบบกระบอกสูบวี หรือ V-Engine เครื่องแบบนี้จะมีกระบอกสูบและลูกสูบอยู่หลายชุดที่แบ่งออกเป็น 2 แถวทำมุมตั้งแต่ 15 – 120 องศารูปตัววีซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดความยาวของเครื่องยนต์ลง แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ 60 และ 90 องศาบนเพลาข้อเหวี่ยงเพียงเส้นเดียวซึ่งเหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีความจุตั้งแต่ 2,000 ซีซีขึ้นไป เพราะถ้าความจุต่ำกว่ากว่านี้จะไม่คุ้มทุนเพราะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงกว่า เครื่องยนต์แบบนี้จะนิยมวางเครื่องยนต์ตามยาว มีตั้งแต่ 2 สูบไปจนถึง 20 สูบ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือแบบ V6, V8, V10 และ V12 อย่างเช่นเครื่องยนต์ในตระกกูล VQ ใน Nissan Teana รวมถึงพวกซีดานขนาดกลางอย่าง BMW ซีรี่ห์ 5 , ซีรี่ห์ 7 และ Mercedes-Benz E-Class เครื่องยนต์แบบนี้สังเกตุง่าย มักวางตามยาวอยู่ใต้ฝากระโปรง


4.เป็นแบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องยนต์แบบ V ที่ซ้อนกันอยู่ในเครื่องยนค์กระบอกสูบดับบลิว หรือ W-Engine กระบอกสูบจะถูกจัดวางคล้ายกับแบบ V แต่จะแบ่งออกเป็น 3-4 แถวอยู่บนเพลาข้อเหวี่ยง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเครื่องยนต์ W12 และ W16 ซึ่งขุมพลังแบบนี้จะช่วยลดความยาวของเครื่องยนต์ลงได้มากกว่ากระบอกสูบแบบ V เครื่องยนต์ในรูปแบบนี้มักถูกออกแบบมาให้ใช้กับรถแข่งเพราะให้กำลังที่สูงหรือไม่ก็อยู่ในตัวแรงพวกรถสปอร์ตซุปเปอร์คาร์และสปอร์ต Luxury Car เช่น Audi A8 Quattro W12 และรถที่แรงที่สุดในโลกอย่าง Bugatti Veyron


5.คือเครื่องยนต์กระบอกตรงข้าม หรือ Opposed Cylinder engine หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “สูบนอน” หรือเครื่อง “Boxer” เครื่องยนต์ชนิดนี้จะมีกระบอกสูบและลูกสูบหลายชุด โดยกระบอกสูบจะแบ่งออกเป็น 2 แถวตรงข้ามกันบนเพลาข้อเหวี่ยงเส้นเดียวกัน ลองนึกภาพเครื่องยนต์แบบ V แต่กระบอกสูบและสูบทำมุมเป็นเส้นตรงที่ 180 องศา ขุมพลังแบบนี้จะมีตั้งแต่ 2 ไปถึง 8 สูบ เครื่อง Boxer มีจุดเด่นคือสามารถลดความสูงของตัวเครื่องได้มากช่วยลดอาการโคลงและสามารถออกแบบตัวถังให้ลู่ลมได้มากกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์ทั่วๆไป ซึ่งขุมพลังแบบกระบอกสูบตรงข้ามนี้ปัจจุบันมีใช้อยู่ในรถสปอร์ตอย่าง Porsche และตัวแรงอย่าง Subaru สังเกตตุง่ายคือเครื่องยนต์จะวางต่ำจากขอบตัวถังด้านบนมากกว่าแบบอื่น และอีกอย่างนึงคือหัวพวกปลั็กหัวเทียนจะอยู่เฉียงลงไปทั้ง 2 ข้างไม่วางเรียงกันด้านบนเหมือนทั่วๆไป


6.เครื่องยนต์โรตารี่ หรือ เครื่องยนต์แวนเคิล หรือจะใช้ศัพท์ช่างที่เรียกกันว่า “สูบหมุน” ที่คิดค้นขึ้นโดย Mr.Felix Wankel ภายใต้แนวความคิดที่ไม่ต้องใช้ชิ้นส่วนมากในการผลิตเครื่งยนต์ แต่ใช้ Rotor สามเหลี่ยมด้านเส้นขอบโค้งและมีแอ่งกลางแทนลูกสูบ ขณะที่กระบอกสูบเปลี่ยนรูปไปตามการหมุนของโรเตอร์ทั้งที่หมุนรอบตัวเองไปพร้อมกับการหมุนเยื้องศูนย์ ที่กำหนดโดยเพลาเยื้องศูนย์ที่มีความโค้งเว้าเป็นรูปวงรีผิวหน้าเรียบเข้ารูปแนบสนิทกับชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่แทนแหวนลูกสูบหรือ “เอดป็กซีล” ที่ติดตั้งอยู่ตรงปลายโรเตอร์ทั้ง 3 มุม
สำหรับขุมพลังประเภทนี้อาจดูแล้วเข้าใจยากสักหน่อย ซึ่งไม่ต้องคิดมากเพราะเครื่องยนต์แบบนี้ไม่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในรถทั่วไปที่เห็นในบ้านเราก็มีเพียงรถสปอร์ตค่าย Mazda ตระกูล RX เท่านั้นที่ใช้ จุดเด่นของมันอยู่ที่คือใช้ชิ้นส่วนน้อยและได้กำลังมากกว่าเครื่องทั่วไปถึง 3 เท่าในการทำงาน 1 กลวัตร








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น